วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

๔.การติดต่อสื่อสารและการใช้บริการกับหน่วยงานต่างๆ

ในการใช้ชีวิิตอยู่ร่วมกันในสังคมทั้วในโรงเรียน ที่บ้าน ที่ทำงาน หรือสถาที่ต่างๆ ในชุมชนส้วนต้องมีการติดต่อสื่อสารกับบุคคลต่างๆ ทั้งที่เป็นบุคคลหรือหน่วยงานต่างๆ

๔.๑ การติดต่อสื่อสาร

การติดต่อสื่อสารเป็นกระบวนการถ่ายทอดข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ความคิด ทัศนคติ จากบุคคลหนึ่งที่ไปยังบุคคลหรือกลุ่มบุคคล เพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีต่อกัน ชักจูง มุ่งให้ความรู้ หรือทำให้เกิดการแปลี่ยนแปลงในการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ประสงค์

๑) ความสำคัญของการติดต่อสื่อสาร มีความสำคัญกับบุคคลทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย และกับหน่วยงานต่างๆ ดังนี้
๑) การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคล เป็นการการช่วยสร้างสัมพันธภาพที่ดีให้เกิดขึ้น

๓. การใช้ทรัพยากรในการปฎบัติงาน

ทรัพยากรที่นำมาใช้ในการปฎิบัติงาน คือ ทรัพยากรหรือวัตถุดิบนำมาใช้ในการทำงานการผลิตชิ้นงาย มีมูลค่าหรือคุณค่าในทางเศรษฐกิจ

การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

การใช้ทรัพยากรในการทำงานจะต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ซึ่งการเลือกใช้ทรัพยากรที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ถือว่าเป็นหนึ่งในคุณธรรมและจริยธรรมในการปฎิบัติงาน และเราควรช่วยกันใช้ทรัพยากรในการปฎิบัติงางนให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ดังนี้

๑.  ใช้วัสดุที่ไม่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมหรือสิ้นเปลือง ทรัพยากระรรมชาติมากเกิดไป
๒.  นำวัสดุที่ใช้แล้วหรือเหลือใช้มาปรับปรุงเล็กก็สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เช่นนำกระดาษหนังสือพิมพืมาประดิษฐ์เป็นของใช้ ของตกแต่งบ้าน เป็นต้น
๓.  ใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการนำทรัพยากรใช้ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์ต่อคนจำนวนมาก เช่น การตัดไม้สร้างชิ้นงาน ควรจะใช้ไม้ให้คุ้มค่าที่สุดและเป็นประโยชน์ต่อคนส่วนมาก เป็นต้น
๔.  นำของเก่าที่มีอยู่แล้วมาเสริมแต่งให้สวยงามและใช้ปรธโยชน์ เช่น เสื้อผ้าเก่าที่ไม่ได้ใช้แล้วนำมาตกแต่งด้วยวัสดุที่้ใช้หรือวาดลวดลายสวยงาม ก็จะได้เสื้อตัวใหม่ที่มีลวดลายใหม่ไม่ซ้ำแบบใคร เป็นต้น
๕. ถนอมรักษาสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ใช้งานได้นานๆ เพราะจะได้ไม่ต้องนำทรัพยากรมาผลิตสิ่งของเคื่องใช้ต่างๆ เช่น กระเป๋าสานควรทาหรือพ่นแล็กเกอร์ก่อนนำมาใช้ เมื่อโดนน้ำกระเป๋าจะได้ไม่ชำรุดเสียหาย เป็นต้น

ดังนั้น การใช้ทรัพยากรในการปำปฎิบัติจะต้องใช้อย่างมีจิตสำนึก โดยใช้ทรัพยากรรที่หาได้ทั้วไปในท้องถิ่นหรือวัสถุที่เหลือใช เพื่ออุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและไม่ทำลายสิ่งแวดล้วม

๒. คุณธรรมและจริยธรรมในการทำงาน

การมีคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงานเป็นอย่างมีจิตสำนึก ถูกวิธี เป็นขั้นต้อนมีประสิทธิภาพ และเป็นที่ยอมรับของผู้อื่นในสังคม ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้

๑)  มีความซื่อสัตย์ ในการทำงานเราจะต้องมีความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่และงานที่เราได้รับมอบหมาย ปฎิบัติงานด้วยความจริงใจ และไม่คดโกงหรือหลอกลวงผู้อื่น เราจึงจะได้รับความไว้วางใจจากผู้ร่วมงาน

๒) มีความเสียสละ ในการทำงานร่วมกับผู้อื่น เราจะต้องเห็นแก่ปรธโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน ไม่เห็นแก่ตัว รู้จักการให้และการแบ่งบัน ช่วยคนอื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน

๓) มีความยุติธรรม ในการทำงานเราจะต้องไม่ลำเอียงหรือถือสิ่งใดสิ่งหนึ่งตามที่เราเชื่อต้อมีความเป็นกลาง ยึดถือความถูกต้องเป็นหลัก ไม่มีอคติกับเรื่องต่างๆ ที่ได้ยินหรือรับฟังจึงจะต้องที่น่านับถือของผู้ร่วมงาน

๔) มีความประหยัด ในการทำงานเราต้องรู้จักอดออม ไม่ฟุ่มเฟือย ต้องคำนึงถึงความคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากร โดยการนำสิ่งที่เหลือใช้หรือสิ่งที่ไม่มีประโยชน์แล้วมาดัดแปลงซ่อมแซม และแก้ไข เพื่อการทำสิ่งที่ไม่มีคุณค่าให้มีคุณค่ามากขึ้น

๕) มีความขยันและอดทน ในการทำงานเราจะต้องมีความมุ่งมั่นต่องานที่เรารับมอบหมาย เพื่องานนั้นบรรลุเป้าหมาย  ตามที่ได้ตั่งไว้ เมื่อพบปัญหาหรืออุปสรรคในการทำงานให้นำปัญหาหรืออุปสรรคนั้นมาปรับปรุงและแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น

๖) มีความรับผิดชอบ ในการทำงานเราจะต้องมีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายผู้ร่วมงาน ลูกค้า สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพมาผลิตสินค้า  ร่วมทั้งไม่ทำลายทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

๗) มีความตรงต่อเวลา เป็นวินัยพื้นฐานในการทำงาน มีความตรงต่อเวลา ไม่มาทำงานสายและต้องส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามกำหนด เพราะถ้าเราไม่ส่งงานตามกำหนดทำให้ผู้ีท่ทำงานต่อจากเราได้รับผลกระทบ และทำให้งานนั้นไม่สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ สร้างควาใเสียหายต่ิองค์กร

๘) มีการประกอบอาชีพที่สุจริต ในการทำงานเราจะต้องเลือกประกอบอาชีพที่สุจริตไม่ทำให้ผู้อื่นไม่เดือดร้อน ไม่เป็นภัยต่อสังคม ซึ่งสังคม ซึ่งสังคมที่ยอมรับอาชีพนั้นเป็นอาชีพที่สุจริต และคนทั่วไปเลือกที่จะประกอบอาชีพนั้น จึงเรียกได้ว่าเรามีการเลือกประกอบอาชีพที่สุจริต

วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

๑.ทักษะเพื่อพัฒนาการทำงาน

ทักษะเพื่อพัฒนาการทำงาน หมายถึง การนำความรู้  ความสามารถ  เทคนิค  และวิธีการต่างๆมาใช้ในการปฎิบัติให้สำเร็จได้อย่างมีประสิทิภาพ  ซึ่งผู้ปฎิบัติงานจำเป็นต้องมีความรู้ความสามารถในงานที่ทำมีทักษะ ในกานวิเคราะห์งาน  มีการวางแผนในการทำงานอย่างเป็นขั้นตอนสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ  สามารถแก้ปัญหาได้  มีความคิดริเริ่ม  มีความสามารถในการบริหารงาน  สามารถปรับตัวเข้ากับบุคคลอื่นและสถานที่ได้เป็นอย่างดี  ที่สำคัญจะต้องสามารถเป็นทีมร่วมกับผู้อื่นได้เพื่อการทำงานให้เกิดประประสิทธิ ภาพสูงสุด  ผู้ปฎิบัติงานจะต้องมีการและพัฒนาการทำงานอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งทักษะเพื่อพัฒนาการทำงานที่สำคัญ  มีดังนี้
๑.๑ ทักษะการแสวงหาความรู้
กานทำงานให้สำเร็จและมีประสิทธิภาพได้นั้น  ผู้ปฎิบัติวานจะต้องมีการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลาให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง  การแข่งขัน  ดังนั้น  ผู้ปฎิบัติงานจะต้องมีการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา  เพื่อนำความรู้มาใช้และพัฒนาการทำงานต่างๆ  ทั้งในชีวิตประจำวันและการทำงานร่วมกับผู้อื่นการแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาการทำงานเป็การคึกษาหาความรู้ การฝึกฝน เพื่อการทำงานการทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และการสามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้งานได้ วิธีการแสวงหาความรู้ มีดังนี้
๑) การสังเกต  โดยเฝ้าดูสิ่งที่เราพเห็นอย่างใส่ใจ แล้วนำมาวิเคราะห์หรือหาความสัมพันธ์สิ่งที่เกิดขึ้นกับสิ่งอื่นๆ


๒)การฟัง โยการรับฟังผู้อื่นด้วยใจที่เปิด ไม่คิด เพื่อฟังรับข้อมูลต่างๆแล้วนำมาประมวลผลความคิดเป็นของตนเองเป็นการสั่งสมความรู้ให้กับผู้ฟังได้เป็นอย่างดีแหล่งข้อมลในการฟังที่ดี เช่น เข้าร่วมฟังบรรยาย เข้าร่วมอบรมความรู้ต่างๆ





๓) การซักถาม  เมื่อมีการรับฟังข้อมูลจากแหล่งต่างๆ แล้ว เมื่อมมีขัอสงสัยก็ให้ซักถามแต่การซักถามนั้นจะต้องมีการ

๔) การอ่าน โดยการคึกษาความรู้จากเอกสาร ตำรา สื่อต่างๆ ที่มีมากมายการอ่านเป็นการเพิ่มพูนความรู้ ทำให้เป็นคนมีวิสัยทัศน์กว้างไกล ก้าวทันสถานการณ์เป็นการพัฒนาด้านอารมณ์ ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด เช่น การอ่านนวนิยาย

๕) การคึกษาค้นคว้า โดยการแแสวงหาข้อเท็จจริงในข่าวสาร ข้อมูล ความเข้าใจ ความคิดเห็นในรูปแบบต่างๆ ด้วยตนเองทั้งตำรา เอกสารทางวิชาการ แหล่งการเรียนรู้จากครอบครัว ชุมชน เป็นต้น
๖)การสัมภาษณ์ โดยการสนสนทนพูดคุยกับบุคคลต่างๆ อย่างมีจุดมุ่งหมาย เพื่อค้นหาความรู้ ความจริงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า และนำความรู้ที่ได้ไปประโยชน์ในการรวบร่วม เผยแพร่ต่ไป

๗) การรวบร่วมและบันทึกข้อมูล วิธีการดำเนินการเพื่อเก็บรวบร่วมข้อมูลจากการแสวงหาความรู้ และบันทึกข้อมูลนั้นให้อยู่ในรูปแบบต่างๆ เช่น บันทึกในแฟ้มเอก บันทึกลงสมุดไว้คอมพิวเตอร์ จัดทำเป็นฐานข้อมูลสารสนเทศ เป็นต้น



๑.๒ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหาในการทำงาน
ในการทำงานใดๆ ก้ตามต้องพบกับปัญหาและจะต้องมีการตัดสินใจ การแก้ปัญหาจึงเป็นกระบวนการของความพยายามในการทำงานเพื่อให้ประสบความสำเร็จ เมี่อมีปัญหาเกิดขึ้นมาสามารถหาแนวแก้ปํญหาได้อย่างเป็นระบบ ซึ่งคุณณสมบัติเด่นของนักแก้ปัญหา คือ จะต้องมองเห็นปํญหาตั่งแต่ที่ยังเป็นปัญหาเล็กๆ อยู่ มีมุมมองต่างๆ ที่กว้างไกล กล้าเผชิญกับปํญหาและพยายามหาหนทางใหม่ๆ ในการแก้ปัญหาอย่างไม่ย่อท้อ ฉับไว แก้ปัญหาได้อย่างเด็ดขาดและท่วงที โดยทั่วไปแล้วกระบวนการแก้ปํญหาในการทำงสนมี ๖ ขั้นตอน ดังนี้